วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การแก้ไข



 ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น  
          - ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน -ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้           - ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา
          - จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน  ใช้บ่อยๆ  ทำให้เกิดการเสพติด  ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย
          ๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา
          ๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น
              การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองเสพยาเสพติด
          ๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง
              ครอบครัว และสังคม
          ๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อม
              ไปสู่ชีวิตของตนเอง 
          ๕.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล
          ๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม
              จะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต
          ๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น
              แนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น
          ๘. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็น
               สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง
การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวาของตนเอง

          ๑. ช่วย พ่อ แม่ สอดส่องดูแลน้องๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวมิให้กระทำสิ่งที่ผิด เช่น การคบเพื่อนที่ไม่ดี
              การมั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก ่สมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวด้วย เช่น               การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร
          ๒. ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกัน
              ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา
          ๓. เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะน้องๆให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของ
              ยาเสพติดวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย
          ๔. ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่การงาน
              ของพ่อ แม่ ภายในบ้าน

อะไรคือวุตถุเสพติด


คุณเคยเห็นป้ายตามถนนต่าง ๆ ที่เขียนไว้ว่า " ยาเสพย์ติดอันตราย…คนขายติดคุก” คำกล่าวเขียนเพื่อให้เห็นว่ายาเสพย์ติดเป็นอันตรายต่อทุกคน ดังนั้น จึงควรให้ท่านได้ทราบถึง "ความรู้เกี่ยวกับยาเสพย์ติด” เพื่อจะช่วยให้สังคมอยู่รอดปลอดภัยจากยาเสพย์ติดอันตราย ประกอบด้วย

"ยาเสพย์ติด” หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มการเสพมากขึ้น มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา ทำให้สุขภาพทั่วไปทรุดโทรมรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพย์ติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตัวอย่าง ที่จัดเป็นยาเสพย์ติดให้โทษตามกฎหมาย ได้แก่ เฮโรอิน แอมเฟตตามีน และ อนุพันธ์บางตัว เช่น ฝิ่น กัญชา มอร์ฟีน และ เมทาโดน

วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หมายถึง วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต/ประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือเป็นวัตถุสังเคราะห์ ตามรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ตัวอย่าง ที่จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมาย ได้แก่ ไดอาซีแพม (แวเลี่ยม) เพนโตบาร์บิตาล ยาลดความอ้วนบางตัว
ยานอนหลับและยาคลายกังวลสารระเหยหมายถึงสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่า

การกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศว่าเป็น "สารระเหย”

ตัวอย่าง ที่จัดเป็นสารระเหยตามกฎหมาย ได้แก่ ทินเนอร์ แลคเกอร์ กาวอินทรีย์ธรรมชาติ กาวอินทรีย์สังเคราะห์ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
เมื่อท่านได้ทราบว่าอะไรคือ "วัตถุเสพย์ติด” ขอได้โปรดหลีกเลี่ยงการใช้ที่จะทำให้เกิดการเสพติดได้ เช่น ไม่ใช้ยาลดความอ้วน ยานอนหลับ โดยไม่รับคำแนะนำจากแพทย์ ไม่เชื่อคำชักจูงจากบุคคลอื่นในการเสพสารเสพย์ติด โดยการทดลองและถ้าต้องทำงานที่ต้องสัมผัสกับสารเสพย์ติดต่างๆ เช่น สารระเหย ควรมีการป้องกันการสัมผัสถูกต้องผิวหนังและการสูดดมเข้าสู่ร่างกายได้

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยาเสพติด

ยาเสพติด คือสารใด ๆ ก็ตามที่ไม่ใช่อาหารซึ่งสามารถมีผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายและจิตใจ ยาเสพติดแบบที่เรียกว่า ยาเปลี่ยนสภาพจิตใจสามารถเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก และการกระทำของบุคคลได้
ยาที่กระตุ้นร่างกายและการทำงานของสมองให้ทำงานเร็วขึ้น เรียกว่า ยากระตุ้นประสาท
ยาที่ทำให้ร่างกายและการทำงานของสมองช้าลง เรียกว่า ยากดประสาท
ยาที่ทำให้การมองเห็น ความรู้สึก และการได้ยินเปลี่ยนแปลงไป เรียกว่า ยาหลอนประสาท
ยาเปลี่ยนจิตใจที่เยาวชนมักใช้ในทางที่ผิด ได้แก่

๑. นิโคติน เป็นสารเสพติดอย่างแรง (สร้างนิสัย) ที่พบในบุหรี่
นิโคตินเป็นยากระตุ้นประสาท ซึ่งเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอุดตัน และทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น

การสูบบุหรี่ทำให้ลมหายใจมีกลิ่นไม่สะอาด ฟันมีคราบ มือมีกลิ่นเหม็น และก่อให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และเสียชีวิตได้ โดยข้อเท็จจริงแล้ว การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการตายที่เราสามารถยับยั้งป้องกันได้มากที่สุด แม้แต่การสูดดมควันบุหรี่ผู้อื่นก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เรียกว่าเป็นการสูบบุหรี่ ทางอ้อม 
๒. สุรา เป็นยากดประสาท เมื่อนักเรียนดื่มสุรา สุราจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง ผ่านกระเพาะและลำไส้ การดื่มสุราสามารถก่อให้เกิด
- ความมึนเมา
- สูญเสียการประสานงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย (ความสมดุล)
- เพิ่มความรุนแรง (พฤติกรรมที่เป็นอันตราย)
- ไม่สามารถเรียนรู้และจดจำได้
- บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
- เพิ่มอุบัติเหตุ
- มีปัญหากับผู้อื่น
การดื่มสุราสามารถนำไปสู่การเสพติด (สร้างนิสัย) เป็นโรคร้ายและเสียชีวิตได้ 
๓. กัญชา เป็นยาเปลี่ยนสภาพจิตใจ คนที่สูบกัญชา มีลักษณะดังนี้
- มีปฏิกิริยาตอบโต้ช้า
- มีความจำไม่ดี
- มีความสนใจเฉพาะในช่วงสั้น ๆ
- คิดอะไรไม่ค่อยออก
- มีความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปทั้งในเรื่องเวลาและพื้นที่
นักเรียนที่เสพกัญชาอาจจะจำสิ่งที่เรียนไม่ค่อยได้ เชื่องช้า สมองทึบ ไม่มีความทะเยอทะยาน และอาจเสพติด







สภาพปัญหายาเสพติดในประเทศไทย


ประเทศไทยประสบกับปัญหายาเสพติดทั้งในด้านการเป็นพื้นที่ผลิต การเป็นพื้นที่การค้า การเป็นพื้นที่แพร่ระบาด และการเป็นทางผ่านยาเสพติด โดยมีตัวยาหลักที่ประสบปัญหาคือ ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า สารระเหย โคเคน เอ็คซ์ตาซี่ และสารเสพติดประเภทวัตถุออกฤทธิ์บางชนิด

การเป็นพื้นที่ผลิต
เนื่องจากประเทศไทย มีส่วนที่ติดกับพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง จึงทำให้ไทยมีส่วนในการผลิตยาเสพติดประเภทฝิ่น และเฮโรอีน ซึ่งผลิตมากในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ นอกจากนั้นแล้ว ในปัจจุบันยังมีการผลิตยาบ้า ในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำด้วย ยาเสพติดที่มีการผลิตในประเทศไทยอีกชนิดหนึ่ง คือ กัญชา ซึ่งมีมากในภาคอีสาน อย่างไรก็ตาม สำหรับการเป็นแหล่งผลิตของประเทศไทยนั้น ในปัจจุบันได้ลดปริมาณลงอย่างมาก โดยเฉพาะฝิ่น เฮโรอีน และกัญชา จนอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ ในส่วนของการผลิตยาบ้า ได้มีการย้ายแหล่งผลิตไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านเป็นส่วนใหญ่

การเป็นพื้นที่การค้า

ประเทศไทยมีการค้ายาเสพติดที่สำคัญ ชนิด คือ การค้าเฮโรอีน การค้ากัญชา การค้ายาบ้า
การค้าเฮโรอีน กระจายอยู่บริเวณพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย บริเวณที่ติดกับสามเหลี่ยมทองคำ พื้นที่ กทม. ภาคใต้ และข่ายงานต่างประเทศ ซึ่งเชื่อมโยงกับข่ายงานภายในประเทศ   รวมทั้งชนกลุ่มน้อยในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ เฮโรอีนส่วนใหญ่ จะถูกลำเลียงไปยังต่างประเทศ แต่บางส่วนจำหน่ายในตลาดภายในประเทศไทย ในปัจจุบัน เครือข่ายการค้าเฮโรอีน ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมและทำลายลงได้หลายเครือข่าย บางกลุ่มหยุดดำเนินการ บางกลุ่มไปค้ายาบ้าแทน
การค้ากัญชา อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กทม. ภาคใต้พื้นที่ดำเนินการส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กัญชาที่รวบรวมได้จะส่งออกไปต่างประเทศเป็นหลักปัจจุบันกล่าวได้ว่าการค้ากัญชาลดน้อยลงมาก กลุ่มผู้ค้าจะไปดำเนินการในประเทศเพื่อนบ้าน การค้าในประเทศส่วนใหญ่เพื่อใช้เสพภายในประเทศ
การค้ายาบ้า ยาบ้าได้แพร่กระจายอยู่ในทุกภูมิภาค ผู้ค้ามีกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆตั้งแต่ระดับรายใหญ่ ระดับกลาง และระดับย่อยในพื้นที่แพร่ระบาด เครือข่ายการค้ายาบ้า ไม่มีการจัดองค์กรที่ชัดเจนเหมือนกับเฮโรอีนและกัญชา แม้แต่นักค้ารายย่อยบางครั้ง ก็สามารถไปจัดหายาเสพติดจากพื้นที่ผลิต บริเวณสามเหลี่ยมทองคำครั้งละเป็นปริมาณมากได้

การเป็นพื้นที่แพร่ระบาด

ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย ประกอบด้วย ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า สารระเหย โคเคน ยาอี และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทบางชนิด เช่น จำพวกยานอนหลับ อย่างไรก็ตาม กล่าวสำหรับการแพร่ระบาดแล้ว ตัวยาหลักคือ ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า สารระเหย โคเคน เอ็คซ์ตาซี่ ยาเค โดยฝิ่นและเฮโรอีน เคยเป็นยาเสพติด ที่แพร่ระบาดรุนแรงในอดีต แต่ปัจจุบันลดระดับลง ฝิ่นคงมีแพร่ระบาดเฉพาะกลุ่มชาวเขา เฮโรอีนแพร่ระบาดในกลุ่มเสพเดิม ตัวยาที่แพร่ระบาดมาก และมีปัญหาในระดับรุนแรง คือ ยาบ้า ซึ่งแพร่กระจายเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน นักเรียนนักศึกษา สำหรับโคเคน เอ็คซ์ตาซี่ และยาเค การแพร่ระบาดจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มเยาวชน ผู้ใช้ในสถานบันเทิง และกลุ่มวัยรุ่มที่ฐานะดี ส่วนสารระเหย จะแพร่ระบาดในกลุ่มเด็กนอก สถานศึกษา ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การเป็นทางผ่านยาเสพติด

การที่ประเทศไทยมีส่วนที่ติดกับสามเหลี่ยมทองคำ และการคมนาคมภายในประเทศมีความสะดวก โดยเฉพาะการขนส่งทางบกและทางอากาศ จึงมีการลักลอบลำเลียงยาเสพติด ทั้งที่ภายในประเทศและไปต่างประเทศ โดยเฉพาะการลักลอบลำเลียงเฮโรอีนไปต่างประเทศ เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย และยุโรป นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการลักลอบเลียงกัญชาจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมายังกรุงเทพฯ ส่งไปต่างประเทศ โดยทางเรือหรือส่งลงทางใต้ไปยังประเทศมาเลเซีย และต่อไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น อเมริกา และประเทศในยุโรป บางประเทศ

เยาวชนกับยาเสพติด





เพื่อให้ประชาชน พ่อแม่ผู้ปกครอง ตระหนักถึงพิษภัยและโทษของยาเสพติด และช่วยกันคุ้มครอง สร้างความรัก ความอบอุ่นให้กับครอบครัวเพื่อเป็นการไม่ให้เยาวชนไทยติดยาเสพติดปัจจุบัน มีผู้ติดยาเสพติดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนจะติดยาเสพติดมากกว่ากลุ่มคนกลุ่มอื่น และที่น่าเป็นห่วงกำลังแพร่ระบาดสู่เด็กนักเรียนวัย 9 ขวบ 10 ขวบ
สาเหตุอาจเป็นเพราะถูกเพื่อนชักจูงให้ลองเสพ อยากรู้ อยากลอง ถูกล่อลวง และสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือการขาดความอบอุ่นในครอบครัว ปัญหาพ่อแม่หย่าร้างกัน ผู้ใหญ่ไม่ได้สนใจดูแลหรือเป็นที่พึ่งของเด็กได้ เด็กเกิดความว้าเหว่ไม่รู้จะปรึกษาใคร เลยหันไปหายาเสพติด หรือเป็นเป้าล่อให้กับผู้ไม่ปรารถนาดีอย่างพอดี

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ ปันทอนความเจริญของประเทศชาติ หากประเทศใดมีประชาชนติดยาเสพติดจำนวนมาก ก็ไม่สามารถพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองได้ ยาเสพติดมีมากมายหลายชนิด ได้แก่ ฝิ่น เฮโรอีน ทินเนอร์ กัญชา ยาบ้า ยาอี สาระเหย กระท่อม และยากระตุ้นประสาทเป็นต้น แต่ละชนิดก่อให้เกิดผลร้ายแก่ร่างกายทั้งสิ้น

ทำให้สุขภาพทรุดโทรมอ่อนแอ ความจำเสื่อม เสียบุคลิกภาพ และปัญหาสำคัญที่ตามมาอีกประการหนึ่ง ก็คือผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นมีโอกาสติดเชื้อไวรัสเอดส์และแพร่กระจายไปยังกลุ่มผู้ผลิตยาเสพติดด้วยกัน รวมไปถึงคนกลุ่มอื่น ๆ ด้วย
แม้รัฐบาลจะประกาศสงครามกับยาเสพติดก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าการป้องกัน การปราบปรามยาเสพติดจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น การแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องร่วมมือกัน

การปราบปรามเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การป้องกันยังเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยการให้การศึกษาและความรู้เรื่องพิษภัยและโทษของยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง แก่ประชาชน ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง จะต้องเอาใจใส่ดูแลลูกหลาน ให้ความรักความอบอุ่นแก่ครอบครัว เป็นที่พึ่งของเด็กได้ เมื่อเด็กมีปัญหาสามารถจะพูดคุย ช่วยกันแก้ปัญหาให้เด็กใช้เหตุผลกับเด็ก ไม่ใช้อารมณ์ เพราะการใช้อารมณ์อาจทำให้เด็กเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ กลุ้มใจและเตลิดออกจากบ้านไปพึ่งยาเสพติดและเสียอนาคตได้ในที่สุด "เยาวชนคืออนาคตของชาติ อย่าให้ตกเป็นทาสของยาเสพติด"