วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อะไรคือวุตถุเสพติด


คุณเคยเห็นป้ายตามถนนต่าง ๆ ที่เขียนไว้ว่า " ยาเสพย์ติดอันตราย…คนขายติดคุก” คำกล่าวเขียนเพื่อให้เห็นว่ายาเสพย์ติดเป็นอันตรายต่อทุกคน ดังนั้น จึงควรให้ท่านได้ทราบถึง "ความรู้เกี่ยวกับยาเสพย์ติด” เพื่อจะช่วยให้สังคมอยู่รอดปลอดภัยจากยาเสพย์ติดอันตราย ประกอบด้วย

"ยาเสพย์ติด” หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มการเสพมากขึ้น มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา ทำให้สุขภาพทั่วไปทรุดโทรมรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพย์ติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตัวอย่าง ที่จัดเป็นยาเสพย์ติดให้โทษตามกฎหมาย ได้แก่ เฮโรอิน แอมเฟตตามีน และ อนุพันธ์บางตัว เช่น ฝิ่น กัญชา มอร์ฟีน และ เมทาโดน

วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หมายถึง วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต/ประสาทที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือเป็นวัตถุสังเคราะห์ ตามรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ตัวอย่าง ที่จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมาย ได้แก่ ไดอาซีแพม (แวเลี่ยม) เพนโตบาร์บิตาล ยาลดความอ้วนบางตัว
ยานอนหลับและยาคลายกังวลสารระเหยหมายถึงสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่า

การกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศว่าเป็น "สารระเหย”

ตัวอย่าง ที่จัดเป็นสารระเหยตามกฎหมาย ได้แก่ ทินเนอร์ แลคเกอร์ กาวอินทรีย์ธรรมชาติ กาวอินทรีย์สังเคราะห์ ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
เมื่อท่านได้ทราบว่าอะไรคือ "วัตถุเสพย์ติด” ขอได้โปรดหลีกเลี่ยงการใช้ที่จะทำให้เกิดการเสพติดได้ เช่น ไม่ใช้ยาลดความอ้วน ยานอนหลับ โดยไม่รับคำแนะนำจากแพทย์ ไม่เชื่อคำชักจูงจากบุคคลอื่นในการเสพสารเสพย์ติด โดยการทดลองและถ้าต้องทำงานที่ต้องสัมผัสกับสารเสพย์ติดต่างๆ เช่น สารระเหย ควรมีการป้องกันการสัมผัสถูกต้องผิวหนังและการสูดดมเข้าสู่ร่างกายได้

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยาเสพติด

ยาเสพติด คือสารใด ๆ ก็ตามที่ไม่ใช่อาหารซึ่งสามารถมีผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายและจิตใจ ยาเสพติดแบบที่เรียกว่า ยาเปลี่ยนสภาพจิตใจสามารถเปลี่ยนความคิด ความรู้สึก และการกระทำของบุคคลได้
ยาที่กระตุ้นร่างกายและการทำงานของสมองให้ทำงานเร็วขึ้น เรียกว่า ยากระตุ้นประสาท
ยาที่ทำให้ร่างกายและการทำงานของสมองช้าลง เรียกว่า ยากดประสาท
ยาที่ทำให้การมองเห็น ความรู้สึก และการได้ยินเปลี่ยนแปลงไป เรียกว่า ยาหลอนประสาท
ยาเปลี่ยนจิตใจที่เยาวชนมักใช้ในทางที่ผิด ได้แก่

๑. นิโคติน เป็นสารเสพติดอย่างแรง (สร้างนิสัย) ที่พบในบุหรี่
นิโคตินเป็นยากระตุ้นประสาท ซึ่งเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอุดตัน และทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น

การสูบบุหรี่ทำให้ลมหายใจมีกลิ่นไม่สะอาด ฟันมีคราบ มือมีกลิ่นเหม็น และก่อให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และเสียชีวิตได้ โดยข้อเท็จจริงแล้ว การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการตายที่เราสามารถยับยั้งป้องกันได้มากที่สุด แม้แต่การสูดดมควันบุหรี่ผู้อื่นก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เรียกว่าเป็นการสูบบุหรี่ ทางอ้อม 
๒. สุรา เป็นยากดประสาท เมื่อนักเรียนดื่มสุรา สุราจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง ผ่านกระเพาะและลำไส้ การดื่มสุราสามารถก่อให้เกิด
- ความมึนเมา
- สูญเสียการประสานงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย (ความสมดุล)
- เพิ่มความรุนแรง (พฤติกรรมที่เป็นอันตราย)
- ไม่สามารถเรียนรู้และจดจำได้
- บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง
- เพิ่มอุบัติเหตุ
- มีปัญหากับผู้อื่น
การดื่มสุราสามารถนำไปสู่การเสพติด (สร้างนิสัย) เป็นโรคร้ายและเสียชีวิตได้ 
๓. กัญชา เป็นยาเปลี่ยนสภาพจิตใจ คนที่สูบกัญชา มีลักษณะดังนี้
- มีปฏิกิริยาตอบโต้ช้า
- มีความจำไม่ดี
- มีความสนใจเฉพาะในช่วงสั้น ๆ
- คิดอะไรไม่ค่อยออก
- มีความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปทั้งในเรื่องเวลาและพื้นที่
นักเรียนที่เสพกัญชาอาจจะจำสิ่งที่เรียนไม่ค่อยได้ เชื่องช้า สมองทึบ ไม่มีความทะเยอทะยาน และอาจเสพติด







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น